วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556


การศึกษาทางไกล (distance education)
            การศึกษาทางไกล หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกันทั้งทางสถานที่และเวลา แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมโยงในการเรียนการสอน และเป็นการศึกษาวิธีหนึ่งในการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ที่อาศัยสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อบุคคล
            การศึกษาทางไกล เป็นการให้โอกาสทั้งในระดับบุคคล หน่วยงานและประเทศ ที่จะสามารถใช้เทคโนโลยีที่ครอบคลุม และเข้าถึงได้ทั้งในบ้าน ที่ทำงานและสถานศึกษาทั่วประเทศ และในหลายกรณีข้ามประเทศด้วย แต่ที่มักจะเป็นคำถามอยู่ตลอดเวลาคือคุณภาพ ซึ่งต้องอาศัยการพิจารณาจากหลายด้าน เช่น การจัดทำเนื้อหาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา การใช้เทคโนโลยีในการเสนอบทเรียน การให้นักศึกษามีความ กระตือรือร้นในห้องเรียน โดยการใช้คอมพิวเตอร์ทำการทดสอบอย่างสม่ำเสมอ มีการประเมินผลหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหาร มีการทดสอบนักเรียนที่จบการศึกษาทางไกล เปรียบเทียบกับนักศึกษาภาคปกติ เป็นต้น ในประเทศญี่ปุ่น ได้เคยทำการทดสอบคุณภาพของนักเรียนทางไกลด้วยเครือข่ายไพน์ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งฮอกไกโด จำนวน 1,413 คน เปรียบเทียบ กับนักศึกษาในห้องเรียนปกติจำนวน 1,413 คน เช่นเดียวกัน พบว่านักศึกษาที่เรียนทางไกลด้วยเครือข่ายไพน์ ผ่านดาวเทียมมีคะแนนคุณภาพที่ดีกว่า


ระบบการสื่อสารในการสอนทางไกล
            มีการใช้สื่ออยู่ 2 ทางคือ
1.     การสื่อสารทางเดียว 
2.     การสื่อสารสองทาง 

การศึกษาทางไกลมีความเป็นไปได้ และมีแต่จะขยายตัวมากขึ้น เทคโนโลยีที่สำคัญคือ ดาวเทียม เส้นใยนำแสง ที่มีอยู่แล้วในประเทศ จะขาดก็เพียงแต่การเชื่อมโยงเป็นระบบ รวมทั้งการปรับกฎหมาย เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี ในการให้บริการโทรคมนาคม ซึ่งทางกระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ก็ให้ความเห็นชอบแล้ว เหลือแต่เพียงการดำเนินการที่เร็วหรือช้าเท่านั้น การเจริญเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นสัญลักษณ์ที่ดีของวิวัฒนาการเครือข่ายสารสนเทศ ที่เอื้อต่อการศึกษาทางไกล เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ และการศึกษาอยู่ในตนเอง การใช้เวิลด์ไวด์เว็บ เพื่อเผลแพร่บทเรียน การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มข่าวสารเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และส่งการบ้าน กระทำได้อย่างประหยัดปัจจุบันสามารถใช้ “ เสียงเมื่อต้องการ ” (Audio on Demand) เพื่อเผยแพร่บทเรียนได้เช่นเดียวกับการใช้วิทยุเพื่อการศึกษา แต่ที่ดีกว่าคือ ผู้เรียนสมารถเรียกฟังได้ตามเวลาที่ตนต้องการ การใช้โทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ตในราคาที่ต่ำ และไม่ขึ้นกับระยะทาง ย่อมจะเปิดโอกาสให้เกิดการประชุมด้วยเสียง ( Audio Conference ) และการประชุมด้วยภาพและเสียงทางไกลพร้อมกัน ( Video Conference )ควรจะปรับปรุงเทคโนโลยีให้สามารถใช้งานที่เป็นจริงได้ ความเป็นไปได้ทางการเมืองนั้น ก็ได้เกิดขึ้นหลายครั้งล่าสุด คงจะเป็นโครงการขยายวิทยาเขตสารสนเทศ ของมหาวิทยาลัยไปในส่วนภูมิภาค ที่ทบวงมหาวิทยาลัยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี 
*ข้อดี
1. ผู้เรียนได้ความรู้โดยตรงที่มีความรู้ความเชียวชาญในเนื้อหานั้น
2. สามารถบันทึกการสอนได้
3. ตัวผู้เรียนที่ศึกษานอกระบบมีความสะดวกสบายมากขึ้น เพราะไม่ต้องสละเวลาทำงานเพื่อมาเรียนรู้วิชาการ
                ปัญหาและอุปสรรค
คงจะเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยกันพิจารณา ที่สำคัญคงจะเป็นการบริหารเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพ การเลือกสาขาวิชาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ ความต้องการของประเทศ อีกทั้งการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพสูง ค่าใช้จ่ายด้วยอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเทคโนโลยี อาทิเช่น บุคลากร ในแต่ละมหาวิทยาลัยและวิทยาเขต และที่สำคัญทีสุดคือ การมีองค์กรบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพและมีความเป็นสากล
 
ข้อมูลผู้รับบริการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ปีการศึกษา 2542
 
 
1.ผู้เรียนตามหลักสูตร การศึกษาในระบบโรงเรียน มีผู้รับบริการ3,464,085 คน
 
2.ผู้เรียนตามหลักสูตร การศึกษานอกระบบโรงเรียน มีผู้รับบริการ 1,209,012 คน
 
3.ผู้รับชมประเภท การศึกษาตามอัธยาศัย มีผู้รับบริการ 760,329คน
รวมทุกประเภททุกระดับ มีผู้รับบริการ 5,433,476 คน
 
ที่มา เอกสาร บทสรุปผลการดำเนินโครงการ จัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (พ.ศ. 2537-2542), กระทรวงศึกษาธิการ, 2542 .
 
ขอขอบคุณที่มา
เขียนโดย             2.เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
             รศ. ดร. กิดานันท์ มลิทอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น