วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม



สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ Distance Learning Television (DLTV) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี บริหารงานโดย มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ Distance Learning Foundation (DLF)


โดยจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ถ่ายทอดสดตามหลักสูตร ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และ สายวิชาชีพ ให้แก่โรงเรียนในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 15 ช่อง (ในชื่อ DLTV 1-15) รวมทั้ง การออกอากาศรายการภาคภาษาอังกฤษ จำนวน 15 ช่อง (ในชื่อ DSTV Network 186-200)


วิธีการรับชม

  1. ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band ที่เป็นระบบเดียวกับ ทรูวิชั่นส์ ซึ่งสามารถซื้อ ชุดรับสัญญาณดาวเทียม กับตัวแทนจำหน่ายของ ทรูวิชั่นส์ ได้ทั่วไป โดยไม่เสียค่าบริการรายเดือน โดยมีราคาประมาณชุดละ 12,000 บาท หรือหากมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ที่สามารถรับย่าน KU-Band ได้ ก็สามารถรับชมได้ เพราะระบบออกอากาศของสถานีฯ มิได้มีการเข้ารหัสไว้ จึงไม่ต้องใช้ Smart Card ในการรับชมรายการ
  2. ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซี่งสามารถรับชมได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง และต้องเสียค่าบริการรายเดือน กับบริษัทเคเบิลทีวีที่ให้บริการ
  3. สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-of-charge Web-based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

ภารกิจ

สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ดำเนินการออกอากาศ รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ใน 2 ลักษณะ ดังนี้

การศึกษาในระบบโรงเรียน

เป็นการจัดการศึกษา ตาม หลักสูตรการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนต่างๆ ในรายวิชาที่ขาดแคลนครูผู้สอน หรือเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาค่อนข้างยาก โรงเรียนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการฯ สามารถทำได้ โดยจัดหาเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ตามตารางเวลาที่ออกอากาศ

การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

เป็นการจัดการศึกษา เพื่อให้ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และทักษะที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป (Informal Education) การจัดการศึกษาผ่านดาวเทียม เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัยนี้ กำหนดเนื้อหารายการ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน และ ความต้องการของประชาชน ในการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน



การศึกษาทางไกล (distance education)
            การศึกษาทางไกล หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกันทั้งทางสถานที่และเวลา แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมโยงในการเรียนการสอน และเป็นการศึกษาวิธีหนึ่งในการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ที่อาศัยสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อบุคคล
            การศึกษาทางไกล เป็นการให้โอกาสทั้งในระดับบุคคล หน่วยงานและประเทศ ที่จะสามารถใช้เทคโนโลยีที่ครอบคลุม และเข้าถึงได้ทั้งในบ้าน ที่ทำงานและสถานศึกษาทั่วประเทศ และในหลายกรณีข้ามประเทศด้วย แต่ที่มักจะเป็นคำถามอยู่ตลอดเวลาคือคุณภาพ ซึ่งต้องอาศัยการพิจารณาจากหลายด้าน เช่น การจัดทำเนื้อหาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา การใช้เทคโนโลยีในการเสนอบทเรียน การให้นักศึกษามีความ กระตือรือร้นในห้องเรียน โดยการใช้คอมพิวเตอร์ทำการทดสอบอย่างสม่ำเสมอ มีการประเมินผลหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหาร มีการทดสอบนักเรียนที่จบการศึกษาทางไกล เปรียบเทียบกับนักศึกษาภาคปกติ เป็นต้น ในประเทศญี่ปุ่น ได้เคยทำการทดสอบคุณภาพของนักเรียนทางไกลด้วยเครือข่ายไพน์ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งฮอกไกโด จำนวน 1,413 คน เปรียบเทียบ กับนักศึกษาในห้องเรียนปกติจำนวน 1,413 คน เช่นเดียวกัน พบว่านักศึกษาที่เรียนทางไกลด้วยเครือข่ายไพน์ ผ่านดาวเทียมมีคะแนนคุณภาพที่ดีกว่า


ระบบการสื่อสารในการสอนทางไกล
            มีการใช้สื่ออยู่ 2 ทางคือ
1.     การสื่อสารทางเดียว 
2.     การสื่อสารสองทาง 

การศึกษาทางไกลมีความเป็นไปได้ และมีแต่จะขยายตัวมากขึ้น เทคโนโลยีที่สำคัญคือ ดาวเทียม เส้นใยนำแสง ที่มีอยู่แล้วในประเทศ จะขาดก็เพียงแต่การเชื่อมโยงเป็นระบบ รวมทั้งการปรับกฎหมาย เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี ในการให้บริการโทรคมนาคม ซึ่งทางกระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ก็ให้ความเห็นชอบแล้ว เหลือแต่เพียงการดำเนินการที่เร็วหรือช้าเท่านั้น การเจริญเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นสัญลักษณ์ที่ดีของวิวัฒนาการเครือข่ายสารสนเทศ ที่เอื้อต่อการศึกษาทางไกล เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ และการศึกษาอยู่ในตนเอง การใช้เวิลด์ไวด์เว็บ เพื่อเผลแพร่บทเรียน การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มข่าวสารเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และส่งการบ้าน กระทำได้อย่างประหยัดปัจจุบันสามารถใช้ “ เสียงเมื่อต้องการ ” (Audio on Demand) เพื่อเผยแพร่บทเรียนได้เช่นเดียวกับการใช้วิทยุเพื่อการศึกษา แต่ที่ดีกว่าคือ ผู้เรียนสมารถเรียกฟังได้ตามเวลาที่ตนต้องการ การใช้โทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ตในราคาที่ต่ำ และไม่ขึ้นกับระยะทาง ย่อมจะเปิดโอกาสให้เกิดการประชุมด้วยเสียง ( Audio Conference ) และการประชุมด้วยภาพและเสียงทางไกลพร้อมกัน ( Video Conference )ควรจะปรับปรุงเทคโนโลยีให้สามารถใช้งานที่เป็นจริงได้ ความเป็นไปได้ทางการเมืองนั้น ก็ได้เกิดขึ้นหลายครั้งล่าสุด คงจะเป็นโครงการขยายวิทยาเขตสารสนเทศ ของมหาวิทยาลัยไปในส่วนภูมิภาค ที่ทบวงมหาวิทยาลัยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี 
*ข้อดี
1. ผู้เรียนได้ความรู้โดยตรงที่มีความรู้ความเชียวชาญในเนื้อหานั้น
2. สามารถบันทึกการสอนได้
3. ตัวผู้เรียนที่ศึกษานอกระบบมีความสะดวกสบายมากขึ้น เพราะไม่ต้องสละเวลาทำงานเพื่อมาเรียนรู้วิชาการ
                ปัญหาและอุปสรรค
คงจะเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยกันพิจารณา ที่สำคัญคงจะเป็นการบริหารเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพ การเลือกสาขาวิชาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ ความต้องการของประเทศ อีกทั้งการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพสูง ค่าใช้จ่ายด้วยอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเทคโนโลยี อาทิเช่น บุคลากร ในแต่ละมหาวิทยาลัยและวิทยาเขต และที่สำคัญทีสุดคือ การมีองค์กรบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพและมีความเป็นสากล
 
ข้อมูลผู้รับบริการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ปีการศึกษา 2542
 
 
1.ผู้เรียนตามหลักสูตร การศึกษาในระบบโรงเรียน มีผู้รับบริการ3,464,085 คน
 
2.ผู้เรียนตามหลักสูตร การศึกษานอกระบบโรงเรียน มีผู้รับบริการ 1,209,012 คน
 
3.ผู้รับชมประเภท การศึกษาตามอัธยาศัย มีผู้รับบริการ 760,329คน
รวมทุกประเภททุกระดับ มีผู้รับบริการ 5,433,476 คน
 
ที่มา เอกสาร บทสรุปผลการดำเนินโครงการ จัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (พ.ศ. 2537-2542), กระทรวงศึกษาธิการ, 2542 .
 
ขอขอบคุณที่มา
เขียนโดย             2.เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
             รศ. ดร. กิดานันท์ มลิทอง

eDLTV


โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีคือโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาผู้ด้อยโอกาส อาทิ นักเรียนในชนบทที่ห่างไกล คนพิการ ผู้ต้องขัง และเด็กป่วยในโรงพยาบาล เป็นต้น การดำเนินการ “โครงการจัดทำเนื้อหา ระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐” ก็นับเป็นโครงการหนึ่งที่ต้องการให้ “โอกาส” แก่ ผู้ด้อยโอกาส คือนักเรียนในชนบท โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งเป็นองค์กรนำในการจัดการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่าน ดาวเทียมและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการรวบรวมเนื้อหาการสอนที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์การศึกษาทาง ไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาลงบนระบบ e-Learning
eDLTV คืออะไร?
“eDLTV” คือ “โครงการจัดทำเนื้อหา ระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐” เป็นโครงการความร่วมมือของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการนำเนื้อหาของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาลงบนระบบ e-Learning เพื่อใช้เผยแพร่แก่โรงเรียนในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของ โรงเรียนในชนบท (ทสรช.) ที่ส่วนใหญ่อยู่ในชนบทห่างไกล ขาดแคลนครู ได้ใช้ประโยชน์ในการสอน สอนเสริม หรือให้นักเรียนได้ใช้ทบทวนบทเรียนภายในโรงเรียนแบบ Off-line และเผยแพร่แบบ On-line ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ให้แก่ครู นักเรียน และผู้สนใจทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน หรือศึกษาเพิ่มเติม
บทสัมภาษณ์ ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ 
รองประธานกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

บทสัมภาษณ์ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล 
รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 
ใครจัดทำ eDLTV
เนื้อหา ใน eDLTV ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรการเรียนการสอนที่มีค่า อาทิ Video Presentation ใบความรู้ ใบงาน แบบทดสอบ ที่จัดทำขึ้นของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โดยคณะครูจากโรงเรียนวังไกลกังวล เพื่อออกอากาศทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้รับความร่วมมือจากคณะครู และนักเรียน จากกลุ่มโรงเรียนในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท (ทสรช.) ในการจัดทำเนื้อหาเพื่อใช้งานในระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รับผิดชอบดูแลระบบให้บริการเผยแพร่ในรูปแบบ Off-line และ On-line ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
บทบาทของหน่วยงานที่ร่วมจัดทำโครงการ pdf
มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม : บันทึกวีดิทัศน์การสอนออกอากาศของโรงเรียนวังไกลกังวล ในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ประมาณ 4,000 ชั่วโมง
คณะครูจากโรงเรียนวังไกลกังวล (Content Owner) : จัดการเรียนการสอนและถ่ายทอดสด ผ่านการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และจัดทำสื่อต่างๆ เช่น สไลด์ คู่มือครู ใบความรู้ เป็นต้น และตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาในระบบ eDLTV
โรงเรียนในโครงการ ทสรช. (Production Team) : คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนในโครงการ ทสรช.
จำนวน 11 แห่ง ประมาณ 150 คน นำเนื้อหาการเรียนการสอนของโรงเรียนวังไกลกังวล มาใส่ในระบบ eDLTV
SVOA และ Hitachi : สนับสนุนการจัดหา eDLTV School Server ให้แก่โรงเรียน ทสรช.
สบทร. : สนับสนุนการจัดหา eDLTV National Server เพื่อให้บริการออนไลน์ แก่ครู นักเรียน และประชาชน
ขั้นตอนการจัดทำเนื้อหาระบบ e-learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม pdf
โรงเรียนที่ได้รับเครื่องแม่ข่าย (eDLTV School Server)
โรงเรียนในกลุ่ม
จำนวน (โรงเรียน)
โรงเรียนวังไกลกังวล
1
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์
14
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
23
โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส
12
โรงเรียนมัธยมศึกษา
18
โรงเรียนพระปริยัติธรรม
4
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.)
1
โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
2
โรงเรียนเอกชน
2
รวมทั้งสิ้น
77
ลิขสิทธิ์ของเนื้อหาใน eDLTV
© สงวนลิขสิทธ์ เนื้อหาและรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของระบบ eDLTV ในโครงการจัดทำเนื้อหาระบบ e-learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ – ปัจจุบัน โดยมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเจ้าของลิขสิทธิ์ และครูโรงเรียนวังไกลกังวลเจ้าของเนื้อหา

อนุญาตให้โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสามารถทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งเนื้อหาและรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของระบบ eDLTV ในโครงการจัดทำเนื้อหา ระบบ e-learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาเท่านั้น (ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์)